ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สอน

ชื่อ-นามสกุล :

อ.ดร. วิสันติ เลาหอุดมโชค
Lect.Dr. Wisanti Laohaudomchok

ดร.วิสันติ เลาหอุดมโชค

สถานที่ทำงาน :

ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
420/1 ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
E-mail: wisanti.lhk@mahidol.ac.th
Website: www.wisanti.net

ประวัติการศึกษา :
2531 - 2535 ปริญญาตรี - วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2540 - 2542 ปริญญาโท - Master of Science (M.S.) in Industrial Health
มหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan - School of Public Health)
Ann Arbor, MI, สหรัฐอเมริกา
[ โดยทุนรัฐบาลไทย (ก.พ.) ประเภทบุคคลทั่วไป ประจำปี 2540 ]
2548 - 2553 ปริญญาเอก - Doctor of Science (Sc.D.) in Environmental Health, concentrating in Occupational Health
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University - School of Public Health)
Boston, MA, สหรัฐอเมริกา
[ โดยทุนรัฐบาลไทย (ก.พ.) ประเภทข้าราชการ ประจำปี 2547 และทุนโครงการวิจัยจาก NIOSH, U.S.A. ]
ประวัติการทำงาน :
2536 - 2540 นักวิชาการสาธารณสุข (ระดับ 3-4)
กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
2542 - 2548 นักวิชาการแรงงาน (ระดับ 5-6)
สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
2553 - 2561 นักวิชาการแรงงาน (ระดับชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ)
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
2561 - ปัจจุบัน อาจารย์ประจำ (ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ และประธานหลักสูตร ป.ตรี)
ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน :
  เคยได้รับทุนฝึกปฏิบัติงานวิจัยด้านการประเมินอันตรายต่อสุขภาพ (Health Hazards Evaluation) ณ สถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งสหรัฐอเมริกา (National Insitute for Occupational Safety and Health; NIOSH) (มิ.ย. - ก.ค. 2541)
  เคยเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร Graduate Summer Session in Occupational Epidemiology จัดโดย University of Michigan – School of Public Health (ก.ค. - ส.ค. 2542)
  เคยได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (JICA) เข้าร่วมฝึกอบรมและศึกษาดูงานหลักสูตร Working Environment Improvement Technology ณ ประเทศญี่ปุ่น (ส.ค. - ก.ย. 2545)
  เคยได้รับทุน Fellowship จาก Korea Occupational Safety and Health Agency (KOSHA) เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ และฝึกอบรมด้านการพัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ณ ประเทศเกาหลีใต้ รวม 3 วาระ (มิ.ย. - ก.ค. 2556, พ.ค. 2557 และ ก.ค. 2560)
  เคยไปราชการต่างประเทศ ร่วมคณะผู้บริหารระดับสูงในการประชุมเจรจาเชิงนโยบาย/ศึกษาดูงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในหลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี สเปน เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน รวมกว่า 30 ครั้ง
  เคยได้รับทุนฝึกอบรมหลักสูตรสำหรับข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (HiPPS) ของสำนักงาน ก.พ. และไปศึกษาดูงานการบริหารภาครัฐของอาเซียน (พ.ย. - ธ.ค. 2556)
  เคยได้รับทุน Talent Network เข้าร่วมการฝึกอบรมและศึกษาดูงานตามหลักสูตรการศึกษานโยบายการดำเนินงานภาครัฐ และการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารและความเป็นผู้นำ สำหรับเตรียมเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ ณ National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) ประเทศญี่ปุ่น (พ.ค. - มิ.ย. 2558)
  ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารแรงงานระดับกลาง (นบร.) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (2558)
  ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรทางวิชาการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น การพัฒนางานวิจัยในงานอาชีวอนามัย การพัฒนาและบริหารจัดการระบบสารสนเทศด้านอาชีวอนามัย การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับ 2 และระดับก้าวหน้า การประเมินความเสี่ยงในสถานที่ทำงาน ฯลฯ
ประวัติการทำงานอื่นๆ และประสบการณ์พิเศษในสายวิชาชีพ :
  ประสบการณ์ด้านการปฏิบัติงานและบริหารงานภาครัฐ โดยเคยรับราชการสายงานวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ณ กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย และกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมกว่า 25 ปี
  เคยเป็นผู้แทนไทยในการประชุมเจรจาระหว่างประเทศหลายครั้ง เช่น
– การประชุมภายใต้กรอบเอเชีย-ยุโรป (ASEM) หัวข้อยุทธศาสตร์ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
– การประชุมเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN-OSHNET) ระหว่างปี 2555–2561
– การประชุมเครือข่ายสารสนเทศความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO-CIS Network)
  เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการศึกษา วิเคราะห์ ประสานงานขับเคลื่อนการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จนกระทั่งประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวเป็นผลสำเร็จเมื่อปี 2559
  เคยดำรงตาแหน่งวิเทศสัมพันธ์ อุปนายกฝ่ายบริการ และอุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (2554–2558)
  เคยดำรงตาแหน่งปฏิคม และผู้ช่วยเลขาธิการ สมาคมการยศาสตร์ไทย (2554–2557)
  เคยร่วมเป็นอนุกรรมการรับรองระบบของสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) (2556–2558)
  เคยร่วมเป็นกรรมการจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการยศาสตร์ และสาขานาโนเทคโนโลยี รวมกว่า 10 เรื่อง
  เคยเป็นวิทยากรบรรยายภายใต้หลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และหลักสูตรอบรมพนักงานตรวจความปลอดภัย หลายหัวข้อและหลายรุ่น
  เคยเป็นอาจารย์พิเศษ ที่ปรึกษา กรรมการวิทยานิพนธ์ กรรมการจัดทาชุดวิชา กรรมการพิจารณาหลักสูตรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
ความเชี่ยวชาญ/หัวข้อที่สนใจ :
  ด้านอาชีวอนามัย การประเมินการสัมผัสทางระบาดวิทยา เช่น การใช้ตัวชี้วัดทางชีวภาพ การพัฒนาแบบจำลองการสัมผัสแบบสะสม ฯลฯ
  ด้านการพัฒนามาตรฐานและระบบการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในระดับชาติและระดับสากล
  ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในงานภาคเกษตร เช่น การประเมินความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช การบริหารจัดการและการพัฒนาเชิงนโยบาย ฯลฯ
  ด้านอื่นๆ เช่น การยศาสตร์ ความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรังสี ฯลฯ
ผลงานทางวิชาการ :
  งานจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ
  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. สถานการณ์การดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย – Occupational Safety and Health in Thailand. กองความปลอดภัยแรงงาน, 2555, 2558, 2561 (จัดพิมพ์เป็นฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ)
  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. คู่มือการตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านเคมี. สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน, 2543 (ISBN 974-7874-54-7)
  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. คู่มือความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรังสี. สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน, 2544 (ISBN 974-7874-88-1)
  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน. สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน, 2546 (ISBN 974-9652-29-0)
  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ตำราชุดวิชาการควบคุมและจัดการมลพิษทางเสียงและการสั่นสะเทือนในงานอุตสาหกรรม (หน่วยที่ 5). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562.
  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ตำราชุดวิชาการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (หน่วยที่ 2). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562.
  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ตำราชุดวิชากฎหมายและมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (หน่วยที่ 13 และ 15). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562.
  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ตำราชุดวิชาการตรวจวัดและประเมินทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (หน่วยที่ 7 และ 10). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563.
  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ตำราชุดวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (หน่วยที่ 15). (อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์)
  งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
  Laohaudomchok W, et al. Assessment of Occupational Exposure to Manganese and Other Metals in Welding Fumes by Portable X-ray Fluorescence Spectrometer. J. Occupational and Environmental Hygiene, 7(8), 2010, p. 456-465.
  Laohaudomchok W, et al. Toenail, Blood, and Urine as Biomarkers of Manganese Exposure. J. Occupational and Environmental Medicine, 53(5), 2011, p. 506-510.
  Laohaudomchok W, et al. Neuropsychological Effects of Low-Level Manganese Exposure in Welders. NeuroToxicology, 32(2), 2011, p. 171-179.
  Chaikittiporn C, Laohaudomchok W, Weik KMMK. Improving Occupational Safety and Health of Myanmar Migrant Workers in Thailand. Asian-Pacific Newsletter on Occupational Health and Safety, 19(1), 2012, p. 10-13.
  Kongtip P, Nankongnab N, Chaikittiporn C, Laohaudomchok W, Woskie S, Slatin C. Informal Workers in Thailand: Occupational Health and Social Security Disparities. New Solutions, 2015. (doi: 10.1177/1048291115586036)
  Laohaudomchok W, et al. Agricultural Health and Safety in Thailand: Current Situation of Pesticide Use, Health Risks, and Gaps in Research and Policy. Human and Ecological Risk Assessment, 2020. (doi: 10.1080/10807039.2020.1808777)
  Wongsakoonkan W, Boonyayothin V, Tangtong C, Pengpumkiat S, Laohaudomchok W, Phanprasit W. Colorimetric Pad for Low-concentration Formaldehyde Monitoring in Indoor Air. J. Health Research, 2021. (doi: 10.1108/JHR-09-2020-0428)
  Phanprasit W, Konthonbut P, Laohaudomchok W, Tangtong C, Sripaiboonkij P, Ikäheimo T, Jaakkola J, Nayha S. Workplace Cold and Perceived Work Ability: Paradoxically Greater Disadvantage among High- than Low-educated Poultry Industry Workers in Thailand. Frontiers in Public Health, 2021. (doi: 10.3389/fpubh.2021.762533)
  Nayha S, Phanprasit W, Chotiphan C, Konthonbut P, Laohaudomchok W, Ikäheimo T, Jaakkola J. Active Commuting and Work Ability: A Cross-sectional Study of Chicken Meat Industry Workers in Thailand. Int. J. Industrial Ergonomics. (in peer-review)


Divider

Copyright© 2022 - Wisanti Laohaudomchok. All Rights Reserved.