รายละเอียดของรายวิชา

ข้อมูลทั่วไป :
รหัสและชื่อรายวิชา
สศออ 652 วิทยาการระบาดด้านอาชีพและสิ่งแวดล้อม
PHOH 652 Occupational and Environmental Epidemiology
จำนวนหน่วยกิต
3 (3-0-6) หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
เป็นรายวิชาในหมวดวิชาแกน
ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 2 / ชั้นปีที่ 1
ผู้รับผิดชอบรายวิชา
อ.ดร. วิสันติ เลาหอุดมโชค
อาจารย์ผู้สอน
อ.ดร. วิสันติ เลาหอุดมโชค
รูปแบบการเรียนการสอน
ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัยภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
โดยในช่วงแรกจะจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Cisco Webex (ประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนครั้ง)
ส่วนที่เหลือเป็นการศึกษาค้นคว้า นำเสนอ และแลกเปลี่ยนระหว่างกันในชั้นเรียน
สถานที่เรียน (กรณีปกติ)
ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ห้อง 2707 อาคาร 2 ชั้น 7

คำอธิบายรายวิชา :
            การประยุกต์ความคิดเห็น และหลักการของวิทยาการระบาด ปัญหาอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม การแพร่กระจายของโรคและอุบัติเหตุเกี่ยวกับอาชีพ ปัจจัย องค์ประกอบของโรคทางอาชีพและอุบัติเหตุ ความสัมพันธ์ระหว่างโรคทางอาชีพและปัจจัยเสี่ยงในสถานที่ทำงาน
            Application of idea and fundamental of epidemiology, occupational health, safety and environment problems, distribution of occupational disease and accident, factors, component of occupational disease and accidents, the relationship between occupational disease and risk factors in workplaces.

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ :
จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายแนวคิดและหลักระบาดวิทยา ที่ประยุกต์ใช้กับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
2. ระบุวิธีการศึกษาการกระจายของโรคและการบาดเจ็บในสถานที่ทำงาน
3. ระบุปัจจัยและองค์ประกอบที่เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บในสถานที่ทำงานและโรคจากการทำงาน
4. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโรคจากการประกอบอาชีพและปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน
วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course Learning Outcomes)
จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ ดังนี้
1. นำหลักการและแนวทางด้านระบาดวิทยาอาชีวอนามัยไปประยุกต์ในงานศึกษาวิจัยตามหลักสูตรได้
2. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษในการค้นคว้าข้อมูลวิชาการ/งานวิจัยต่างๆ ได้
3. พัฒนาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน และมีทักษะการทำงานเป็นทีม

การประเมินผลการเรียนรู้ :
1. การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน (In-class Participation)
   - การเข้าชั้นเรียน/ร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น 10 %
   - การแสดงความคิดเห็น ร่วมประเด็นอภิปราย แลกเปลี่ยน สอบถาม/ตอบคำถามในชั้นเรียน ฯลฯ 10 %
2. งานที่มอบหมายเป็นรายบุคคล (Individual Tasks)
   - การอ่านและวิพากษ์บทความทางวิชาการ/งานศึกษาวิจัยที่มอบหมาย (Assigned Reading & Critique) 20 %
   - การศึกษาค้นคว้าในหัวข้อเกี่ยวกับการประยุกต์หลักระบาดวิทยาในงานอาชีวอนามัยฯ
     โดยจัดทำเป็นรายบุคคล เลือกหัวข้อ นำเสนอและส่งรายงาน (Term Project & Report)
20 %
3. การสอบประเมินผล (Individual Examination)
   - การสอบกลางภาค (Mid-term Examination) 20 %
   - การสอบปลายภาค (Final Examination) 20 %
อาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินผลและสัดส่วนคะแนน กรณีพบข้อจำกัดจากการเรียนการสอนแบบออนไลน์


Divider

Copyright© 2022 - Wisanti Laohaudomchok. All Rights Reserved.