รายละเอียดของรายวิชา

ข้อมูลทั่วไป :
รหัสและชื่อรายวิชา
สศออ 436 มาตรฐานระดับชาติและสากล สำหรับระบบการจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
PHOH 436 National and International Standards for Quality, Environment, Occupational Safety and Health
Management System
จำนวนหน่วยกิต
2 (2-0-4) หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
เป็นรายวิชาในหมวดวิชาบังคับ
ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 1 / ชั้นปีที่ 4
ผู้รับผิดชอบรายวิชา
อ.ดร. วิสันติ เลาหอุดมโชค
อาจารย์ผู้สอน
อ.ดร. วิสันติ เลาหอุดมโชค
สถานที่เรียน
ห้อง 4506 อาคาร 4 ชั้น 5 คณะสาธารณสุขศาสตร์
รูปแบบการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นหลัก ร่วมกับการใช้ระบบ e-Learning ผ่าน Moodle เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
โดยอาจมีการจัดการเรียนแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex เป็นครั้งคราวตามสถานการณ์และความเหมาะสม
ทั้งนี้ มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ประกอบด้วยการบรรยาย การศึกษาค้นคว้า
จัดทำรายงาน นำเสนอ และแลกเปลี่ยนระหว่างกันของนักศึกษา

คำอธิบายรายวิชา :
            หลักการจัดการด้านคุณภาพและมาตรฐานสากล ในการจัดการที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ รายละเอียดของมาตรฐานสากลด้านการจัดการคุณภาพ (ISO 9000) มาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) มาตรฐานสากลด้านการจัดบริหารความเสี่ยง (ISO 31000), มาตรฐานสากลด้านการประเมินความเสี่ยง (ISO 31010), มาตรฐานสากลด้านการบริหารระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001), มาตรฐานสากลด้านการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ISO 22301), มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย BS 8800 มอก. 18001 มาตรฐานด้านแรงงานชาติและสากล (TIS 18000) และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ

            Principle of quality management and international management standard used in Thailand and other countries, detail of international standard of quality management (ISO 9000), international standard in environmental management (ISO 14000), international standard for managing risk (ISO 31000), international standard for risk assessment (ISO 31010), international standard for occupational health and safety (ISO 45001), international standard for business continuity (ISO 22301), British standard in Occupational health and safety (BS 8800) and Thai Industrial Standard 18001, international, national labor standards (TIS 18000) and health impact assessment.

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ :
จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายถึงหลักการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในระดับชาติและนานาชาติ
2. อธิบายขอบเขตของมาตรฐานการจัดการด้านต่าง ๆ เช่น มาตรฐานด้านคุณภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านแรงงาน ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมาตรฐานเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
3. อธิบายแนวทางเตรียมการเพื่อนามาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมาตรฐานเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ในสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมและการบริการวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course-level Learning Outcomes: CLOs)
จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ ดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม (CLO1)
2. ประยุกต์ความรู้ทางด้านมาตรฐานระดับชาติและระดับสากล เพื่อบริหารจัดการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ (CLO2)
3. เสนอแนวทางการพัฒนางานวิชาการที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับชาติและระดับสากลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ (CLO3)
4. พัฒนาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน และมีทักษะการทางานเป็นทีม (CLO4)
5. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานระดับชาติและระดับสากลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (CLO5)

การประเมินผลการเรียนรู้ :
1. การมีส่วนร่วม (Participation) ในระหว่างการเรียนการสอน ประกอบด้วย
   - การเข้าห้องเรียนออนไลน์ตามตารางเวลาที่กำหนด ไม่ขาดหายโดยไม่มีเหตุผลความจำเป็น 5 %
   - พฤติกรรมในระหว่างเรียน เช่น การแสดงความตั้งใจ ร่วมประเด็นอภิปราย ตอบคำถาม ฯลฯ 5 %
2. งานที่มอบหมาย (Assignments) ประกอบด้วย
   - การบ้านที่มอบหมายให้ทำการสืบค้น สรุปข้อมูลด้านมาตรฐาน ฯลฯ (งานรายบุคคล) จำนวน 5 ครั้ง 15 %
   - การวิเคราะห์จัดทำร่างมาตรฐาน ISO 45001 (งานรายบุคคล) 15 %
   - การศึกษามาตรฐานระบบการจัดการหรือมาตรฐานเชิงเทคนิคอื่น ที่อาจนำมาใช้ในงานอาชีวอนามัยฯ
     เพื่อนำเสนอและส่งรายงาน (งานกลุ่ม)
15 %
3. การสอบประเมินผล (Individual Examination) ประกอบด้วย
   - การสอบระหว่างเรียน (Quiz) จำนวน 10 ครั้ง 15 %
   - การสอบกลางภาค (Mid-term Examination) 15 %
   - การสอบปลายภาค (Final Examination) 15 %
อาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินผลและสัดส่วนคะแนนตามความเหมาะสม


Divider

Copyright© 2019-2023 – Wisanti Laohaudomchok. All Rights Reserved.