รายละเอียดของรายวิชา

ข้อมูลทั่วไป :
รหัสและชื่อรายวิชา
สศออ 643 วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
PHOH 643 Research Methodology in Occupational Health and Safety
จำนวนหน่วยกิต
2 (2-0-4) หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
เป็นรายวิชาในหมวดวิชาบังคับ
ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 2 / ชั้นปีที่ 1
ผู้รับผิดชอบรายวิชา
อ.ดร. วิสันติ เลาหอุดมโชค
อาจารย์ผู้สอน
1)  อ.ดร. วิสันติ เลาหอุดมโชค
2)  อ.ดร. ปาจรีย์ กุณฑลบุตร
3)  วิทยากร/อาจารย์พิเศษ
รูปแบบการเรียนการสอน
ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัยภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
โดยในช่วงแรกจะจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Cisco Webex (ประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนครั้ง)
ส่วนที่เหลือเป็นการศึกษาค้นคว้า นำเสนอ และแลกเปลี่ยนระหว่างกันในชั้นเรียน
สถานที่เรียน (กรณีปกติ)
ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ห้อง 2707 อาคาร 2 ชั้น 7

คำอธิบายรายวิชา :
            วิธีการวิจัยด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การวางแผนงานวิจัย การตั้งปัญหาและสมมติฐาน การสุ่มตัวอย่างแบบต่างๆ การวางรูปแบบของการวิจัย ทั้งในห้องปฏิบัติการ และภาคสนาม วิธีการวิจัยด้านระบาดวิทยาอาชีวอนามัย การแปรผล และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
            Occupational health and safety research methodology, research planning, research question and hypothesis, type of sampling, research design for experiment and field, occupational health epidemiology research, interpretation the results and utilize the findings.

จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ :
จุดมุ่งหมายของรายวิชา (Course Goals)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความสำคัญของงานวิจัย การกำหนดหัวข้อ แนวทางดำเนินงานตามกรอบวิธีการวิจัยด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้
2. อธิบายการประยุกต์ใช้หลักระบาดวิทยาในงานวิจัยด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้
3. ระบุแนวคิดในการศึกษาวิจัยของนักศึกษา รวมถึงการนำผลจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้
วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course Learning Outcomes)
จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ ดังนี้
1. จัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ในเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษในการค้นคว้าข้อมูลวิชาการเพื่อทบทวนวรรณกรรมได้
3. พัฒนาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน และมีทักษะการทำงานเป็นทีม

การประเมินผลการเรียนรู้ :
1. การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน (In-class Participation)
   - การเข้าชั้นเรียน/ร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น 10 %
   - การแสดงความคิดเห็น ร่วมประเด็นอภิปราย แลกเปลี่ยน สอบถาม/ตอบคำถามในชั้นเรียน ฯลฯ 10 %
2. งานที่มอบหมายเป็นรายบุคคล (Individual Tasks) ประกอบด้วย
   - การสืบค้น อ่าน วิเคราะห์บทความวิชาการ/งานศึกษาวิจัย (Assigned Reading & Critique) 20 %
   - การจัดทำโครงงานวิจัยรายบุคคล (Individual Project) รวมถึงการนำเสนอและส่งรายงาน 30 %
3. การสอบปลายภาค (Final Examination) 30 %
อาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินผลและสัดส่วนคะแนน กรณีพบข้อจำกัดจากการเรียนการสอนแบบออนไลน์


Divider

Copyright© 2022 - Wisanti Laohaudomchok. All Rights Reserved.